Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook
Transfiguration pending
ข้ามไปเนื้อหา

กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น
คินโตโมะ มูชาโนโกจิ ทูตญี่ปุ่นประจำไรช์เยอรมัน และโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ รัฐมนตรีต่างประเทศไรช์เยอรมัน กำลังเซ็นกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น
ประเภทกติกาสัญญา
วันร่าง23 ตุลาคม ค.ศ. 1936
วันลงนาม25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936
ที่ลงนามเบอร์ลิน ไรช์เยอรมัน
ผู้ลงนาม
ผู้ลงนามดั้งเดิม

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง


ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น[1] (อังกฤษ: Anti-Comintern Pact) คือ สนธิสัญญาเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลฟาสซิสต์แห่งนาซีเยอรมนีและรัฐบาลฟาสซิสต์แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 และมีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล (อังกฤษ: Comintern) โดยทั่วไป แต่หมายถึง สหภาพโซเวียต เป็นพิเศษ

"เป็นที่รู้กันดีว่าเป้าหมายขององค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนามโคมินเทิร์น นั้นคือการทำให้รัฐต่างๆ แตกออกจากกันและหลังจากนั้นก็จะใช้กำลังเข้าปราบปรามเพื่อให้รัฐทั้งหลายบนโลกนี้ตกอยู่ใต้อำนาจบังคับของคอมมิวนิสต์ ด้วยความมั่นใจว่าการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐโดยองค์การคอมมิวนิสต์สากลนั้นมิได้เพียงแต่เข้าไปคุกคามต่อสันติภาพภายในประเทศและความสงบสุขของสังคมแล้ว แต่ยังเป็นภัยต่อสันติภาพของโลก จึงเป็นความปรารถนาที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกันป้องกันตัวจากกิจกรรมทั้งหลายของพวกคอมมิวนิสต์"

จุดกำเนิด

[แก้]

จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นรัฐบาลฟาสซิสต์ชาตินิยมที่หวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยพยายามจับกุมและทำลายกลุ่มนักเคลื่อนไหวสายสังคมนิยมอย่างเหี้ยมโหด. รัฐบาลญี่ปุ่นเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะมาทำลายความเป็นชาตินิยมของจักรวรรดิ์และพระราชอำนาจของพระจักรพรรดิ์ จึงเริ่มแสวงหาพันธมิตรในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์. จุดกำเนิดของสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้เริ่มต้นเมื่อฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1935 เมื่อนายทหารหลายนายของเยอรมนีทั้งในและนอกกระทรวงการต่างประเทศพยายามที่จะรักษาสมดุลในความต้องการทางการแข่งขันโดยขึ้นอยู่กับนโยบายต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่ต้องการจะรักษาความเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐจีน และความปรารถนาส่วนตัวของฮิตเลอร์ที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] เมื่อถึงเดือนตุลาคม 1935 ข้อเสนอดังกล่าวได้มีการถกเถียงกันว่าพันธมิตรที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง นาซีเยอรมนี และจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ เอกอัครราชทูตพิเศษและหัวหน้าของ Dienststelle Ribbentrop และ นายพลโอชิมา ฮิโรชิ ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งหวังว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้จีนยอมจำนนต่อญี่ปุ่นในที่สุด[2] แต่ว่าจีนมิได้สนใจในเรื่องดังกล่าวเลย แต่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1935 ริบเบนทรอพและโอชิมาได้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล[3] สนธิสัญญาเบื้องต้นได้ออกมาในตอนปลายเดือนพฤศจิกายน 1935 โดยเชิญให้อังกฤษ อิตาลี จีนและโปแลนด์เข้าร่วมด้วย[3] อย่างไรก็ตาม ด้วยความวิตกกังวลของรัฐมนตรีการต่างประเทศไรช์ คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม จอมพล แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ก มีว่าสนธิสัญญาดังกล่าวอาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น รวมไปถึงความยุ่งยากในญี่ปุ่นหลังจากการก่อรัฐประหารในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 แต่ไม่สำเร็จ ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี[4] เมื่อถึงฤดูร้อนแห่งปี 1936 อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของกำลังทหารในคณะรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นต่างก็เกรงพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศส-สหภาพโซเวียต และความปรารถนาของฮิตเลอร์ในด้านนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเชื่อมั่นว่าถ้าหากสามารถดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพันธมิตรได้ สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลก็จะฟื้นขึ้นมาอีก[5] สนธิสัญญาดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในเบื้องต้นในวันที่ 23 ตุลาคม 1936 และลงนามเมื่อ 25 พฤศจิกายน 1936[6] แต่ว่าเยอรมนีก็ยังต้องการที่จะรักษาสัมพันธไมตรีกับสหภาพโซเวียตต่อไป ดังนั้นตัวสนธิสัญญาจึงได้กล่าวถึงเฉพาะองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่ทว่าในข้อตกลงลับที่ได้เขียนชึ้นมานั้นได้กล่าวว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างประเทศหนึ่งประเทศใดกับสหภาพโซเวียตขึ้น ประเทศผู้ลงนามที่เหลือจะวางตัวเป็นกลางจนกระทั่งสงครามยุติ.[6]

ข้อตกลง

[แก้]

ในกรณีที่เกิดสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับเยอรมนีหรือญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศจะตกลงใจกันปรึกษาหารือถึงแนวทาง "การรักษาแนวคิดดั้งเดิมของตน" ทั้งสองฝ่ายยังตกลงอีกด้วยว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่ตกลงใจทำสนธิสัญญาทางการเมืองกับสหภาพโซเวียต และเยอรมนีจะต้องให้การรับรองแก่แมนจูกัว

การก่อตั้ง "ฝ่ายอักษะ"

[แก้]

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 อิตาลีก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสนธิสัญญาดังกล่าวในปีต่อมา[7] ภายหลัง ทั้งสามประเทศได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นฝ่ายอักษะ การตัดสินใจของอิตาลีนั้นแสดงถึงความล้มเหลวของแนวสเตรซา การทาบทามของอังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1935 ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้นาซีเยอรมนีขยายอาณาเขตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในทางปฏิบัติแล้ว ทั้งสองประเทศมีความต้องการที่จะขัดขวาง "ลัทธิจักรวรรดินิยมเยอรมนี" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผนวกออสเตรีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีด้วย แต่ว่าความไม่ไว้วางใจและการขยายดินแดนของอิตาลีทำให้สัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษและอิตาลีเริ่มห่างเหิน เช่นเดียวกันกับฝรั่งเศส อิตาลีได้รุกรานเอธิโอเปีย ในเดือนตุลาคม 1935 ซึ่งเป็นการขัดต่อนโยบายของสันนิบาติชาติ ถึงกระนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสเองกลับยินยอมให้อิตาลีสามารถยึดครองเอธิโอเปียได้ถึงสองในสามของดินแดนทั้งหมด เป็นที่รู้จักกันว่า สนธิสัญญาฮวาเร-ลาวาล และต่อมาเมื่อข่าวได้แพร่ออกไปถึงมหาชนชาวอังกฤษและฝรั่งเศส รัฐบาลของทั้งสองประเทศก็ได้รับความอับอายเป็นอย่างมาก เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ซามูเอล ฮวาเร ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง และสนธิสัญญาฮาวเร-ลาวาลก็ถูกยกเลิกไป

ความพยายามที่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี

[แก้]

ก่อนหน้านั้น ในเดือนมิถุนายน 1935 ข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนีได้ถูกลงนามโดยสหราชอาณาจักรและนาซีเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามของฮิตเลอร์ทื่จะเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอังกฤษและเยอรมนี รวมไปถึงแยกสหภาพโซเวียตให้อยู่โดดเดี่ยว ขณะที่อังกฤษและสหภาพโซเวียตต่างก็พยายามแยกเยอรมนีให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเช่นกัน ฮิตเลอร์ยังได้แผ่อิทธิพลไปยังโปแลนด์เพื่อให้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล และกล่าวถึงความตั้งใจของเขาที่จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์[8] อย่างไรก็ตาม โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อตกลงของฮิตเลอร์ ด้วยกลัวว่าถ้าหากยอมทำเช่นนั้น ตนก็อาจจะต้องตกอยู่ใต้อำนาจของนาซี ในเวลาเดียวกันนั้น นักการเมืองญี่ปุ่นหลายคน รวมทั้งพลเรือเอกอิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ ต่างก็ตื่นตระหนกต่อสนธิสัญญาดังกล่าว แต่ว่าผู้บัญชาการทหารระดับสูงของญี่ปุ่นได้เข้ายึดกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แก่เยอรมนีเพื่อที่จะทำสัญญากับอังกฤษต่อไป เยอรมนียังคงวางแผนการที่จะทำสงครามกับสหภาพโซเวียตและพันธมิตรตะวันตกต่อไป

ความพยายามของฮิตเลอร์ที่จะพัฒนาสัมพันธไมตรีกับอังกฤษประสบความล้มเหลว ในเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีเองกลับทำลายสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลของตัวเองเมื่อสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพถูกลงนาม ซึ่งเป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 1940 ฮิตเลอร์ได้เริ่มวางแผนการรุกรานสหภาพโซเวียต (ซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้เมื่อปี 1943) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ ได้รีบเจรจาสนธิสัญญาฉบับใหม่กับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1940 ริบเบนทรอพได้ส่งโทรเลขไปยังนายวีเชสลาฟ โมโลตอฟ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต แจ้งให้ทราบว่าเยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลีมีความพยายามที่จะรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางการทหาร ริบเบนทรอพได้บอกกับโมโลตอฟว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปยังสหรัฐอเมริกา มิใช่สหภาพโซเวียต:

"เป็นความปรารถนาของผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกซึ่งได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อบีบคั้นมิให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามในครั้งนี้ โดยทำให้พวกเขาได้รู้สึกว่าการเข้าสู่สงครามของพวกเขา จะต้องพบกับศึกหนึกอันประกอบไปด้วยสามชาติมหาอำนาจซึ่งได้ร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น"

กลุ่มประเทศผู้ลงนาม เมื่อปี ค.ศ. 1941

[แก้]

สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้รับการทบทวนใหม่ในปี ค.ศ. 1941 หลังจากที่นาซีเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งได้รับประเทศสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 5 ประเทศ กลุ่มประเทศผู้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลในตอนนั้นได้แก่[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Anglo-French Entente; Entente Cordiale (1904) ถึง Ausgleich
  2. 2.0 2.1 2.2 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, page 342.
  3. 3.0 3.1 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, page 343.
  4. Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, pages 343-344.
  5. Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970 pages 344-345.
  6. 6.0 6.1 Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970, pages 346.
  7. Robert Melvin Spector. World Without Civilization: Mass Murder and the Holocaust, History, and Analysis, pg. 257
  8. Sean Greenwood: “The Phantom Crisis: Danzig, 1939” pages 225-246 from The Origins of the Second World War Reconsidered edited by Gordon Martel, Routledge: London, United Kingdom, 1999 page 232; Anna Cienciala: “Poland in British and French Policy in 1939: Determination To Fight-or Avoid War?” pages 413-433 from The Origins of The Second World War edited by Patrick Finney, Edward Arnold: London, United Kingdom, 1997 page 414; Gerhard Weinberg: The Foreign Policy of Hitler's Germany Starting World War II 1937-1939, University of Chicago Press: Chicago, Illinois, United States of America, 1980 pages 558-562
  9. Edmund Osmańczyk: Encyclopedia of the United Nations and International Agreements, Taylor and Francis (2002), ISBN 0415939216, page 104
  • Gerhard Weinberg. The Foreign Policy of Hitler's Germany Diplomatic Revolution in Europe 1933-36, Chicago: University of Chicago Press, 1970

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]