Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook
ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531

← พ.ศ. 2529 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีนาคม พ.ศ. 2535 →

ทั้งหมด 357 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 179 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ63.6% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
Chatichai Choonhavan.jpg
‎Siddhi Savetsila (1980).jpg
Bhichai Rattakul 2010-04-01.jpg
ผู้นำ ชาติชาย ชุณหะวัณ สิทธิ เศวตศิลา พิชัย รัตตกุล
พรรค ชาติไทย กิจสังคม ประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำ 27 กรกฎาคม 2529

ส.ส.นครราชสีมา เขต 1

30 มกราคม 2530

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 2

3 เมษายน 2525

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 6

เลือกตั้งล่าสุด 64 51 99
ที่นั่งที่ชนะ 87 54 48
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 23 เพิ่มขึ้น 3 ลดลง 51
คะแนนเสียง 7,612,148 4,651,161 4,456,077
% 19.3% 11.8% 11.3%

  Fourth party Fifth party Sixth party
 
Samak Sundaravej.JPG
ผู้นำ ณรงค์ วงศ์วรรณ สมัคร สุนทรเวช เทียนชัย สิริสัมพันธ์
พรรค รวมไทย ประชากรไทย ราษฎร
เขตของผู้นำ 5 มิถุนายน 2529

ส.ส.แพร่ เขต 1

9 มีนาคม 2522

ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 1

19 พฤษภาคม 2529

ส.ส.ลพบุรี เขต 1

เลือกตั้งล่าสุด 19 24 20
ที่นั่งที่ชนะ 35 31 21
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 16 เพิ่มขึ้น 7 เพิ่มขึ้น 1
คะแนนเสียง 3,988,941 2,413,520 2,336,962
% 10.1% 6.1% 5.9%

  Seventh party Eighth party Ninth party
 
ผู้นำ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อาทิตย์ กำลังเอก จำลอง ศรีเมือง
พรรค ประชาชน ปวงชนชาวไทย พลังธรรม
เขตของผู้นำ 31 ธันวาคม 2526

ส.ส.นครราชสีมา เขต 3

13 พฤษภาคม 2531

ส.ส.เลย เขต 1

9 มิถุนายน 2531

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง[a]

เลือกตั้งล่าสุด พรรคใหม่ 1 พรรคใหม่
ที่นั่งที่ชนะ 19 17 14
ที่นั่งเปลี่ยน พรรคใหม่ เพิ่มขึ้น 16 พรรคใหม่
คะแนนเสียง 2,454,870 3,143,851 3,586,878
% 6.2% 8.0% 9.1%

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รหัสสี: ชาติไทย, กิจสังคม, ประชาธิปัตย์, รวมไทย, ประชากรไทย, ราษฎร,ประชาชน, ปวงชนชาวไทย, พลังธรรม, อื่น ๆ
แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เปรม ติณสูลานนท์
อิสระ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ชาติชาย ชุณหะวัณ
ชาติไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 มีขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ผลการเลือกตั้งเป็นชัยชนะของพรรคชาติไทย โดยได้ 87 ที่นั่งจากทั้งหมด 357 ที่นั่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 63.6%[1]

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย โดย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม มี 54 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 357 เสียง[2][3]

แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรก 5 พรรคประกอบไปด้วย ชาติไทย , กิจสังคม , ประชาธิปัตย์ , รวมไทย และ ประชากรไทย ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพัก ในเวลาค่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี 5 เดือน ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเวลาต่อมาไม่นาน

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของ พรรคพลังธรรม โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอยู่ด้วย ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งต่อมา คือ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวง และถือเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองครั้งแรกของนักการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองและสังคมที่สำคัญหลายคน เช่น นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์, นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นต้น[4] [5]

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคที่สังกัด ณ วันที่ได้รับเลือกตั้ง

 •   ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531[3]
พรรค
คะแนนเสียง
%
ที่นั่ง
ชาติไทย 7,612,148 19.3
87 / 357
กิจสังคม 4,651,161 11.8
54 / 357
ประชาธิปัตย์ 4,456,077 11.3
48 / 357
รวมไทย 3,988,941 10.1
35 / 357
ประชากรไทย 2,413,520 6.1
31 / 357
ราษฎร 2,336,962 5.9
21 / 357
ประชาชน 2,454,870 6.2
19 / 357
ปวงชนชาวไทย 3,143,851 8.0
17 / 357
พลังธรรม 3,586,878 9.1
14 / 357
กิจประชาคม
9 / 357
ก้าวหน้า
8 / 357
สหประชาธิปไตย
5 / 357
มวลชน
5 / 357
เสรีนิยม
3 / 357
พลังสังคมประชาธิปไตย
1 / 357
คะแนนสมบูรณ์ 100 357
คะแนนเสีย
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ที่มา:

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
  2. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-28.
  3. 3.0 3.1 "ตารางที่ 15". เอกสารสรุปผลการสัมมนาเพื่อประเมินผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ 2531 เชิงปฏิบัติการ (Report). กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 1989. p. 103.
  4. ชาติชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรมได้รับการเสนอชื่อเป็นองคมนตรี หน้า 207, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  5. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. 632 หน้า. ISBN 974-599-876-4
1
2
3
4
3
5
2475
2480
2485
2490
2495
2500
2505
2510
2515

ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2475–2516
แถวแรก: = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)

เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2531&oldid=11752327"