Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook
ข้ามไปเนื้อหา

พรเพชร วิชิตชลชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรเพชร วิชิตชลชัย
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภา
รักษาการ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 22 วัน)
ก่อนหน้านิคม ไวยรัชพานิช
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2557[1] – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 308 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
ถัดไปชวน หลีกภัย
(ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 109 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2491 (75 ปี)
อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสอารยา วิชิตชลชัย

ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2491) เป็นอดีตผู้พิพากษาและนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานรัฐสภาไทยและอดีตประธานวุฒิสภา อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[2] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างสามัคคีปรองดอง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560[3] เป็นอดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 และที่ปรึกษากฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

พรเพชร วิชิตชลชัย มีชื่อเล่นว่า "ชีโน่" เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2491 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากวชิราวุธวิทยาลัย ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 2) ปี 2515 จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปีเดียวกัน และในปี 2518 จบปริญญาโทด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนรัฐบาล (ก.พ.) และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.41) และสถาบันพระปกเกล้า ปปร.11)[4]ด้านประวัติครอบครัว สมรสกับ นาง อารยา วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา[5]เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549และผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย)

การทำงานและฉายา​[แก้]

พรเพชร วิชิตชลชัย เป็นนักกฎหมายและเนติบัณฑิตไทย เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งนิติกร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเคยเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ศาสตราจารย์พิเศษ" คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นกรรมการกฤษฎีกา เคยเป็นกรรมการบริหารเนติบัณฑิตยสภา กรรมการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และกรรมการบริหารกองทุนพัชรกิติยาภาเพื่อการศึกษากฎหมาย

พรเพชร วิชิตชลชัย มีบทบาทสำคัญในด้านต่างประเทศด้วย เขาเป็นกรรมการบริหารสมาคมกฎหมายอาเซียน ( The ASEAN Law Association) ตั้งแต่ปี 2530 เคยเป็น Chairman of the Thai National Committee of the ASEAN Law Asssociation เมื่อปี 2558 ขณะดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเขาได้รับเชิญจากสหภาพรัฐสภา (IPU) ให้ไปร่วมประชุมประธานรัฐสภาโลกและกล่าวปาฐกถา ณ ห้องประชุมใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

พรเพชร วิชิตชลชัย ได้เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน แทนนายประวิช รัตนเพียร ซึ่งลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับเลือกจากสมาชิกสภาดังกล่าวให้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาเขาได้แสดงความจำนงขอลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อทำหน้าที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียงตำแหน่งเดียวและ​ยัง​เป็น​เจ้า​ของฉายา​ หัวตอ​รออเดอร์​เนื่องจาก​นิ่ง​เหมือน​หัว​ตอ​

ผลงาน[แก้]

  • เคยเป็นองค์คณะในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดีทุจริตกล้ายาง)
  • เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้พระราชกฤษฎีกาจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้การเลือกตั้งคราวล่าสุดนั้นสิ้นผลไป
  • เป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเอื้อประโยชน์ธุรกิจชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท
  • ขณะเป็น สนช. ชุดปี พ.ศ. 2549 เคยเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยให้ความผิดดังกล่าวครอบคลุมถึงการกระทำความผิดต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่บางประการอันเป็นราชการในพระองค์ ให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดและรับโทษหนักขึ้น และยังเสนอให้ออกกฎหมาย ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอีกด้วย[6]
  • ในฐานะประธาน สนช. ชุดปี พ.ศ. 2557 ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาไทยในขณะนั้น อัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกฏราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รางวัลและเกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. 2510 สอบไล่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ลำดับที่ 1 ของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ได้รับพระราชทานรางวัลเรียนดีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
  • พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นนาคหลวงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2550 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนิสิตเก่าดีเด่นของคณะนิติศาสตร์ จากสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ 2557 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นศิษย์เก่าดีเด่น จากสมาคมสถาบันพระปกเกล้า
  • พ.ศ. 2558 ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น จากสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาล
  • พ.ศ. 2558 ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนิสิตเก่าดีเด่นของคณะรัฐศาสตร์ จากสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เล่ม ๑๓๑, ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง , ๑๗ ส.ค. พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
  3. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2560
  4. "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-08-24.
  5. สิ้นภริยา ประธาน สนช. เหตุมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
  6. สนช.เสนอเพิ่มโทษ ม.112 กม.หมิ่นฯ ขยายคลุม "องคมนตรี" และห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๔๐๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า พรเพชร วิชิตชลชัย ถัดไป
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
(ประธานรัฐสภา)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานรัฐสภา
(ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

(17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
ชวน หลีกภัย
(ประธานรัฐสภา)
นิคม ไวยรัชพานิช
รองประธานรัฐสภา
(ประธานวุฒิสภา)

(28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง