Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เปิดโลกสาย STEM! ผู้หญิงเก่งวิชาสถิติมากกว่าที่คิด


FILE - Josephine Alade teaches math to 9th and 10th graders at Roosevelt High School - Early College Studies, Thursday, Oct. 15, 2020, in Yonkers, N.Y. (AP Photo/Mary Altaffer)
FILE - Josephine Alade teaches math to 9th and 10th graders at Roosevelt High School - Early College Studies, Thursday, Oct. 15, 2020, in Yonkers, N.Y. (AP Photo/Mary Altaffer)

การศึกษาชิ้นใหม่ เผยให้เห็นศักยภาพของผู้หญิงในด้านวิชาสถิติมากกว่าที่พวกเธอคิด

นักศึกษาระดับปริญญาด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย University of Nebraska ที่เมืองโอมาฮา มีวิชาบังคับให้เรียนวิชาสถิติคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาตัวเลขที่แสดงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งนักเรียนหลาย ๆ คนแสดงความรู้สึกวิตกกังวลที่จะต้องเรียนวิชานี้

อาจารย์สองคนที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกาพยายามทำความเข้าใจในเรื่องความวิตกกังวลหรือความกลัวของนักศึกษาของตน โดยหวังว่าจะสามารถช่วยให้บรรดาครูผู้สอนปรับปรุงพัฒนาการสอนวิชาสถิติ และช่วยลดความวิตกกังวลของนักศึกษาลงได้

เคลลี่ แมคอาร์เธอร์ (Kelly McArthur) อาจารย์สอนวิชาสถิติ แห่งภาควิชาสังคมวิทยา และโจนาธาน ซานโต (Jonathan Santo) อาจารย์สอนวิชาสถิติ แห่งภาควิชาจิตวิทยา ได้พูดคุยกับวีโอเอเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้และผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจ

อาจารย์ทั้งสองได้สำรวจความสัมพันธ์ในหลาย ๆ ด้านระหว่างความวิตกกังวลเรื่องการเรียนวิชาสถิติและผลการเรียนของนักศึกษาทั้งชั้น โดยการศึกษาระดับความวิตกกังวลที่เปลี่ยนไปตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบชั้น และดูว่าระดับเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับผลการสอบอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการสำรวจบทบาทของเพศมีต่อความวิตกกังวลในเรื่องการเรียนวิชาสถิติและผลการเรียนจริงอีกด้วย

แมคอาเธอร์และซานโตพบว่า โดยทั่วไปแล้วนักศึกษาหญิงมีความกังวลเรื่องการเรียนวิชาสถิติมากกว่านักศึกษาชาย

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องนี้เหมือนที่ผ่านมา นักวิจัยพบว่านักศึกษาหญิงทำคะแนนได้มากกว่านักศึกษาชายถึง 10% ในการสอบปลายภาค แม้ว่าพวกเขาจะทำคะแนนสอบได้ใกล้เคียงกันเมื่อตอนเริ่มภาคเรียนก็ตาม

ในการศึกษานี้ แมคอาร์เธอร์และซานโตได้สำรวจนักศึกษา 111 คนโดยการให้ตอบชุดแบบสอบถามในตอนต้นและตอนท้ายของภาคเรียน เพื่อดูว่านักศึกษามีความกังวลเรื่องการเรียนวิชานี้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็ติดตามดูความคืบหน้าเป็นเวลาหลายเดือน

ในเบื้องต้น อาจารย์ผู้สอนบอกว่าผู้ชายสามารถตอบคำถามได้มากกว่าผู้หญิง แต่ในท้ายที่สุด จำนวนนักศึกษาหญิงที่มีความมั่นใจในความสามารถของตนเพิ่มขึ้น และคะแนนสอบของพวกเขาก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ฟรานเซส แอนเดอร์สัน (Frances Anderson) หนึ่งในศิษย์เก่าของซานโต ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาโทด้านการเป็นผู้นำทางการศึกษา เธอจำได้ว่าเคยกลัวการเรียนวิชาสถิติ ถึงแม้ว่าเธอจะทำคะแนนได้ดีในวิชาคณิตศาสตร์มาก่อนก็ตาม เธอเล่าว่า หลังจากที่เข้าเรียนหนึ่งหรือสองครั้ง ก็รู้สึกว่าไม่สามารถเรียนวิชานี้ได้ เธอคิดว่าตัวเองคงจะสอบตก จนถึงกับต้องโทรศัพท์ไปร้องไห้กับเพื่อน ๆ

หลังจากที่มีความกังวลในช่วงเริ่มต้น แอนเดอร์สันได้ผูกมิตรกับนักเรียนคนอื่น ๆ ที่หยิบยื่นความช่วยเหลือ และยังเรียนแบบตัวต่อตัวกับซานโตเพื่อศึกษาเนื้อหาและติดตามประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่เธอจะได้ถามที่เจาะลึกมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เธอเข้าใจวิชานี้ได้ดีขึ้น

แต่เหตุผลหลักที่ทำให้เธอต้องมองหาความช่วยเหลือก็คือ การที่เธอไม่ต้องการถูกมองว่าไม่เหมาะที่จะเรียนวิชานี้ และความกลัวที่จะถูกมองว่าไม่ดีพอก็ทำให้เธอต้องเรียนอย่างหนักเลยทีเดียว

แมคอาร์เธอร์และซานโตได้เขียนรายงานการศึกษานี้ไว้ในวารสาร Journal of Statistics and Data Science Education โดยพวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาในการเรียนวิชาสถิติอาจเป็นอุปสรรคต่อการสำเร็จการศึกษาได้

ซานโตกล่าวว่า ระดับความกังวลเกี่ยวกับวิชาสถิตินั้นทำให้เขาประหลาดใจอยู่เสมอ เขามักพยายามที่จะให้นักเรียนรู้ว่าการเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนสถิตินั้นสามารถ “ใช้ได้จริง” หรือมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากกว่า แต่สิ่งสำคัญคือนักเรียนจะต้องยอมรับว่าพวกเขากำลังรับมือคำถามคณิตศาสตร์ที่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากโจทย์คณิตศาสตร์ประเภทอื่น ๆ

และว่านักเรียนมักจะคุ้นเคยกับการตอบโจทย์คณิตศาสตร์ซึ่งให้คำตอบที่ "ถูกต้อง" แต่ในชั้นเรียนสถิติสำหรับวิชาจิตวิทยาหรือสังคมวิทยานั้น พวกเขาควรยอมรับแนวคิดที่ว่าข้อมูลการวิจัยไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนเสมอไป

ซานโตกล่าวส่งท้ายด้วยว่า อาจารย์ผู้สอนวิชาสถิติเอง ก็ควรหาวิธีที่จะทำให้นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือจากตนด้วย

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG