Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เที่ยวดินแดนมหัศจรรย์ในพิพิธภัณฑ์วรรณกรรมเด็ก


ส่วนหนึ่งของการจัดแสดงนิทรรศการ "Building Stories" ที่ National Building Museum ในกรุงวอชิงตัน
ส่วนหนึ่งของการจัดแสดงนิทรรศการ "Building Stories" ที่ National Building Museum ในกรุงวอชิงตัน

นิทรรศการที่ชื่อว่า “Building Stories” ถูกจัดขึ้นที่ National Building Museum โดยเป็นการจัดแสดงหนังสือสำหรับเด็กจำนวนมากกว่า 150 เล่ม จาก 28 ประเทศ ใน 5 ทวีปทั่วโลก และเป็นงานเขียนที่เกิดขึ้นในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา

การจัดแสดงครั้งนี้ถือเป็นงานนิทรรศการที่ผู้จัดยอมรับว่าใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจมากที่สุดงานหนึ่งเท่าที่เคยจัดมา และตัดสินใจที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมต่อไปอีกนานอย่างน้อยเป็นเวลาถึง 10 ปีด้วย

ไอลีน ฟุคส์ ผู้อำนวยการบริหาร National Building Museum
ไอลีน ฟุคส์ ผู้อำนวยการบริหาร National Building Museum

ไอลีน ฟุคส์ ผู้อำนวยการบริหารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ กล่าวว่า “ภารกิจของเราคือการสร้างแรงบันดาลใจ ให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกที่เราออกแบบและสร้างขึ้น” โดยเธอยอมรับด้วยว่า ตัวเองไม่คิดว่าจะมีวิธีไหนที่สนุก ยอดเยี่ยม และตรงประเด็นไปมากกว่าการศึกษาผ่านมุมมองหนังสือเด็กเลย

ตัวอย่างหนังสือเด็กที่ถูกนำมาจัดแสดงในงานนี้ อย่างเช่น หนังสือคลาสสิก “วินนีเดอะพูห์” (Winnie the Pooh) “อลิซในดินแดนมหัศจรรย์” (Alice in Wonderland) รวมถึงวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัย เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) และ จูมานจิ (Jumanji) โดยใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านประสบการณ์สมจริง ทั้งการใช้ภาพสามมิติ วิดีโอ เสียง และเทคนิคที่ทำให้ผู้ชม รู้สึกเหมือนตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

ลีโอนาร์ด มาร์คัส ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ Building Stories
ลีโอนาร์ด มาร์คัส ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ Building Stories

ลีโอนาร์ด มาร์คัส ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ยกตัวอย่างวรรณกรรมเด็กจากสวีเดน ในยุค 1940 อย่าง ปิปปี ลองสต๊อกกิ้ง (Pippi Longstocking) ที่เล่าเรื่องของตัวละครเด็กผู้หญิงซึ่งดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ซึ่งแตกต่างกับวิถีที่เด็กถูกอนุญาตให้ทำบนโลกใบนี้อย่างสิ้นเชิง

มาร์คัส ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมเด็กและเป็นผู้คัดสรรหนังสือทุกเล่มสำหรับนิทรรศการนี้ กล่าวเสริมว่า หนังสือบางเล่มในนิทรรศการเล่าเรื่องเกี่ยวกับบ้าน การออกจากบ้าน การไม่มีบ้าน รวมถึงชีวิตที่ต้องรับมือต่อสถานการณ์นั้น ๆ หรือบางตัวละครถูกบังคับให้ออกจากบ้านของตนเอง ในฐานะผู้ลี้ภัย เป็นต้น

ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ "Building Stories"
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ "Building Stories"

ส่วนเคธี แฟรงเคิล เจ้าหน้าที่ของ National Building Museum มองว่า หนังสือเด็กโดยตัวของมันเองคือสิ่งที่ช่วยให้เยาวชนค้นหาตัวตนให้พบพื้นจุดยืนของตัวเอง ซึ่งเหมือน ๆ กับแนวคิดของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ไม่ได้นำเสนอเรื่องของโครงสร้างทางกายภาพต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังนำเสนอจุดเชื่อมโยงไปถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่มีต่อผู้คนด้วย

เคธี แฟรงเคิล เจ้าหน้าที่ของ National Building Museum
เคธี แฟรงเคิล เจ้าหน้าที่ของ National Building Museum

หนึ่งในพื้นที่ของนิทรรศการนี้จัดแสดงผลงานกระบวนการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก โดย เดวิด แม็คคอว์เลย์ นักเขียนและนักวาดภาพประกอบชาวอเมริกัน ที่เลือกนำเสนอหนังสือเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมกรุงโรม

เดวิด แม็คคอว์เลย์ นักเขียนและนักวาดภาพประกอบชาวอเมริกัน ในพื้นที่จัดแสดงพิเศษที่นำเสนอกระบวนการทำหนังสือ
เดวิด แม็คคอว์เลย์ นักเขียนและนักวาดภาพประกอบชาวอเมริกัน ในพื้นที่จัดแสดงพิเศษที่นำเสนอกระบวนการทำหนังสือ

แม็คคอว์เลย์ เผยว่า เดิมทีตนเองต้องการนำเสนองานวาดภาพสีของกรุงโรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความอลังการของนครแห่งนี้ แต่คิดว่าควรที่จะปล่อยงานให้เป็นสีขาวดำ เพราะมันเป็นสิ่งที่เรียบง่ายและจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ชื่นชมดื่มด่ำรายละเอียดต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมทั้งหลายได้มากกว่า

นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการวรรณกรรมเด็กแล้ว ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังมีพื้นที่กิจกรรมสนุก ๆ อื่น ๆ ทั้งห้องสำหรับอ่านหนังสือที่ได้คัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ จำนวนมากกว่า 200 เล่มให้ทุกคนได้เพลิดเพลิน และมุมพิเศษให้ผู้มาเยี่ยมชมลองสร้างสรรค์เรื่องราวของตัวเองด้วยการต่อบล็อคภาพขึ้นมาด้วย

  • ที่มา: วีโอเอ

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG