Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทวิตเตอร์เดือด! หลังโพสต์หมิ่นเหม่ "มนุษย์ออกแบบทารกได้"


dna
dna
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:38 0:00

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ (The National Academy of Sciences) ที่ได้รับเงินอุดหนุนกว่า 85% จากรัฐสภาอเมริกัน ลงวิดีโอและข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการปรับแต่งพันธุกรรมในมนุษย์ และการสร้างเด็กทารกที่ “สมบูรณ์แบบ” ก่อนทีมงานจะตัดสินใจลบทวีตดังกล่าวทิ้ง

ทวีตนั้นมีข้อความว่า “ฝันที่จะแข็งแรงขึ้น? ฉลาดขึ้น? เรียนเก่งที่สุดหรือเป็นนักกีฬาชื่อดัง ให้ลูกหลานปราศจากโรคร้าย การแต่งพันธุกรรมมนุษย์ทำสิ่งเหล่านี้และฝันอื่นๆ เป็นจริงได้หรือไม่ เรียนรู้ความเป็นไปได้ผ่านวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง ร่วมทำแบบทดสอบกัน”

ส่วนวิดีโอเปิดด้วยบทพูดที่แสดงถึงความไม่พอใจเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง เช่น ฉันอยากจะสูงขึ้น ฉันอยากจะลดไขมันของตัวเอง ทำอย่างไรจะป้องกันศีรษะล้าน จนถึงอยากกำจัดความบกพร่องในการอ่านจากโรค Dyslexia

เนื้อหายังบอกด้วยว่าความคิดเรื่องการปรับแต่งพันธุกรรมอาจจะไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ในทวีตวิดีโอเจ้าปัญหานี้ยังมีคลิปที่ นักวิทยาศาสตร์เจนิเฟอร์ ดาวด์น่า (Jennifer Doudna) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์ ผู้บุกเบิกการปรับแต่งพันธุกรรมในมนุษย์กำลังถกประเด็นวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย

หลังจากสำนักข่าวเอพีหยิบเหตุการณ์ดังกล่าวมารายงาน ทำให้สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติตัดสินใจลบทวีตที่มีปัญหา ก่อนที่จะโพสต์ว่าสถาบันมีจุดยืนเพียงหนึ่งเดียว คือการพัฒนาปรับแต่งพันธุกรรมควรเป็นไปเพื่อลดและป้องกันปัญหาสุขภาพเท่านั้น ทางสถาบันเสียใจที่สร้างความสับสนว่าการปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะของมนุษย์เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ก่อนจะกล่าวขอโทษที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างไม่เจตนา

ดร. จอร์จ คิว ดาเลย์ (George Q. Daley) คณบดีจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มองว่าวิดีโอดังกล่าวจะทำให้คนเข้าใจว่าการปรับแต่งพันธุกรรมมีแต่ข้อดีเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงผลลบ และนี่คือ “นิยามของคำว่าผยอง” ดร.ดาเลย์ย้ำ “มนุษย์เรายังก้าวไม่ถึงจุดนั้น”

ทางด้านนักวิชาการ อัลตา ชาโร (Alta Charo) อดีตอาจารย์ด้านจริยธรรมการปรับแต่งพันธุกรรมในมนุษย์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล ชี้ว่าทวีตดังกล่าวจะทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดอย่างมหันต์

และยังมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ เช่นพอล นอพเฟลอร์ (Paul Knoepfler) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส และ ลีย์ เทอร์เนอร์ (Leigh Turner) จากมหาวิทยาลัยมินิโซต้า ทั้งคู่วิจารณ์ว่าทวีตนี้แสดงทัศนคติที่ตื้นเขินในประเด็นที่จริงจัง

โฆษกหญิงจากสถาบันวิทยาศาสตร์ฯ มอลลี่ เกลวิน (Molly Galvin) อธิบายว่าวิดีโอนี้คือส่วนหนึ่งของโครงการที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนต่อสาธารณะชน

ในปีที่แล้ว พ.ศ. 2561 หน่วยงานวิจัยจากประเทศจีนประกาศว่าได้ปรับแต่งพันธุกรรมทารก แฝดคู่หนึ่ง ก่อนจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) พร้อมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องจัดตั้งคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เพื่อศึกษา ดูแล และนำไปสู่การตรวจสอบควบคุมในอนาคต เนื่องจากการปรับแต่งพันธุกรรมในระดับดีเอ็นเอที่เกี่ยวพันธ์กับเสปิร์ม รังไข่ หรือ ตัวอ่อน จะส่งผลในระยะยาวถึงมนุษย์รุ่นต่อๆ ไป

XS
SM
MD
LG