Svoboda | Graniru | BBC Russia | Golosameriki | Facebook

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รัสเซีย ฝ่าด่านคำสั่งแบนอียู-เดินหน้าเผยแพร่ข้อมูลเท็จ


FILE - Blood stains a car damaged in a deadly Russian missile attack in Vinnytsia, Ukraine, July 14, 2022. As Russia's war in Ukraine rages on, the Kremlin is expanding its information war throughout Eastern Europe, spreading propaganda and disinformation
FILE - Blood stains a car damaged in a deadly Russian missile attack in Vinnytsia, Ukraine, July 14, 2022. As Russia's war in Ukraine rages on, the Kremlin is expanding its information war throughout Eastern Europe, spreading propaganda and disinformation

หลังรัสเซียส่งกองทัพรุกรานยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (อียู) ได้สั่งการปิดกั้นการทำงานของสื่อ RT และ Sputnik ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ชั้นนำ 2 แห่งของรัสเซีย เนื่องจากทั้งคู่ทำการเผยแพร่ข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อและข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้

แต่ในช่วงเกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา เว็บไซต์หลายแห่งยังคงตีพิมพ์เนื้อหาที่อียูสั่งแบนอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัสเซียสามารถหลบหลีกคำสั่งปิดกั้นดังกล่าวได้อย่างไม่ยาก โดยมีทั้งการรีแบรนด์เพื่อปิดบังตัวตน การใช้นักการทูตเป็นผู้ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อ และทำการตัด-แปะเนื้อหาไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย เป็นต้น

RT logo
RT logo

FILE - Russian President Vladimir Putin visits the headquarters of what was then known as the Russia Today television channel in Moscow, June 11, 2013 Major brands in the export division of Russian media include RT, the RIA Novosti news agency, Sputnik,
FILE - Russian President Vladimir Putin visits the headquarters of what was then known as the Russia Today television channel in Moscow, June 11, 2013 Major brands in the export division of Russian media include RT, the RIA Novosti news agency, Sputnik,

บริษัท NewsGuard ซึ่งตั้งอยู่ในนครนิวยอร์กและศึกษารวมทั้งติดตามกรณีของการบิดเบือนข้อมูลในโลกออนไลน์ ทำการระบุเว็บไซต์จำนวน 250 แห่งที่ทำการเผยแพร่ข้อมูลเท็จจากรัสเซียเกี่ยวกับสงครามในยูเครนอย่างแข็งขัน โดยมีเว็บใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาหลายสิบแห่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

สิ่งที่เว็บไซต์เหล่านี้กล่าวอ้างมีทั้ง การกล่าวหาว่า กองทัพยูเครนสร้างภาพว่ารัสเซียเป็นผู้ทำการโจมตีต่าง ๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายเพียงเพื่อระดมแรงหนุนจากทั่วโลก หรือว่า ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี สร้างภาพหลอกตาประชาชน หรือว่า ผู้อพยพลี้ภัยชาวยูเครนทำการก่ออาชญากรรมในเยอรมนีและโปแลนด์

รายงานจาก NewsGuard ระบุว่า เว็บบางแห่งแสดงตนว่าเป็นองค์กรคลังสมองอิสระหรือองค์กรสื่อ โดยราวครึ่งหนึ่งนำเสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนที่เหลือนั้นใช้ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน หรืออิตาเลียน และหลายแห่งนั้นเปิดตัวมานานตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามในยูเครนและไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียจนเลย แต่จู่ ๆ ก็เริ่มกลายมาเป็นกระบอกเสียงของเครมลินกันหมด

กอร์ดอน โครวิทซ์ ซีอีโอร่วม ของ NewsGuard กล่าวว่า เว็บไซต์เหล่านี้อาจะเป็นพวกที่เรียกว่า sleeper site ซึ่งหมายถึง เว็บที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการเผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยเฉพาะ แต่จะอยู่เงียบ ๆ ไม่ให้มีใครสังเกตเห็นพร้อมกับ ค่อย ๆ สร้างฐานผู้ติดตามด้วยการโพสต์ข้อมูลที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยหรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หลักของตน จนถึงเวลาแล้วจึงปล่อยข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อหรือข้อมูลเท็จออกมาภายหลัง

และขณะที่การวิเคราะห์ของ NewsGuard พบว่า ข้อมูลเท็จส่วนใหญ่บนเว็บเหล่านี้เป็นเรื่องของสงครามในยูเครนที่ส่งมาจากรัรสเซีย ทีมงานระบุว่า มีการพบการกล่าวอ้างผิด ๆ ที่มาจากฝั่งสนับสนุนยูเครนด้วย เช่น กรณีของนักบินสู้รบระดับฮีโร่ ที่มีชื่อเรียกว่า Ghost of Kyiv ซึ่งทางการยูเครนออกมายอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเล่าปรัมปราเท่านั้น

นอกจากการควบคุมของหน่วยงานรัฐแล้ว ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี เช่น ยูทิวบ์ (YouTube) และ เมตา (Meta) ซึ่งเป็นเจ้าของ เฟซบุ๊ก (Facebook) และอินสตาแกรม (Instagram) ต่างออกมาให้คำมั่นที่จะถอด RT และ Sputnik ออกจากแพลตฟอร์มของตนที่พื้นที่ประเทศสมาชิกอียู แต่นักวิจัยพบว่า ในบางครั้ง สิ่งที่ฝ่ายรัสเซียทำในการหลบคำสั่งแบนก็คือ การใช้บัญชีผู้ใช้งานใหม่เพื่อโพสต์ข้อมูลเท่านั้นเอง

ศูนย์ Disinformation Situation Center ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของนักวิจัยเรื่องข้อมูลเท็จที่มีที่ทำการอยู่ในยุโรปพบด้วยว่า มีคลิปวิดีโอของ RT บางชิ้นปรากฏขึ้นทางสื่อสังคมออนไลน์ภายใต้ชื่อแบรนด์และโลโก้ใหม่ ขณะที่ บางครั้ง RT ลบชื่อและโลโก้ของตัวเองออกจากคลิปบางชิ้นก่อนจะนำไปโพสต์ทางช่องยูทิวบ์ใหม่ที่ไม่ได้ถูกอียูสั่งแบน

อย่างไรก็ตาม เฟลิกซ์ คาร์ทเท ที่ปรึกษาอาวุโสจาก Reset องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากอังกฤษที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ Disinformation Situation Center และเป็นองค์กรที่วิพากษ์วิจารณ์บทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ต่อการเผยแพร่วาทกรรมเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย กล่าวว่า การจับตาดูเนื้อหาของสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงรุกที่หนักขึ้นน่าจะช่วยทำให้ความพยายามของรัสเซียที่จะหลบหลีกคำสั่งแบนของอียูเป็นไปได้ยากขึ้น

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของอียู เปิดเผยว่า กำลังมีความพยายามยกระดับระบบป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่ว่าทั้งหมดอยู่ โดยเมื่อฤดูใบไม้ผลิที่เพิ่งผ่านไป อียูเพิ่งอนุมัติกฎหมายที่บังคับให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายดำเนินการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อถอนรากถอนโคนข้อมูลเท็จออกจากระบบของตน โดยบริษัทที่ไม่ทำตามอาจต้องโทษถูกปรับเป็นเงินก้อนใหญ่ได้

เมื่อเดือนที่แล้ว รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เวรา เยาโรวา ออกมาระบุว่า ข้อมูลเท็จนั้น “คือปัญหาที่กำลังขยายวงกว้างในอียู และเราต้องดำเนินมาตรการที่เข้มข้นขึ้นได้แล้ว”

การแพร่กระจายของเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสงครามในยูเครนแสดงให้เห็นว่า รัสเซียวางแผนไว้ก่อนแล้ว เผื่อกรณีที่รัฐบาลต่าง ๆ หรือบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายพยายามจะจำกัดการกระจายข้อมูลของ RT และ Sputnik และนั่นหมายความว่า ผู้นำชาติตะวันตกและผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีนั้นจะต้องลงมือทำการต่าง ๆ มากกว่าการสั่งปิดเว็บไซต์ หากต้องการจะหยุดการหลั่งไหลออกมาของข้อมูลเท็จจากเครมลินให้ได้

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG